วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่งบทความ8ค่ะ

ฮื้อ ๆ อยากร้องไห้จังต้องส่งทิปนี้เป็นทิปสุดท้ายแล้ว ก่อนที่จะส่งทิปนี้อยากจะบอกว่าต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมากนะค่ะที่ได้มาสอนพวกเรานักศึกษา ป.บัณฑิต หมู่ 2 และทำให้เรามีเรื่องราวที่ดี ๆ นำเสนอให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้และมองเห็นความรู้สึกของกันและกันการเรียนแบบนี้ถือว่าเป็นแบบอย่างอีกแบบหนึ่งที่ทำให้เรามีประสบการเรียนรู้ที่ดีและได้รับรู้มากขึ้น เพื่อน ๆ คิดเหมือนฉันบ้างเปล่านะตอนนี้ที่จะต้องเลิกส่งงานแล้วบางคนอาจคิดว่ารอดพ้นแล้วแต่สำหรับฉัน ฉันคิดว่ามีความสุขที่ได้ล่าและเผยแพร่บทความให้คนอื่นได้รับรู้ในเรื่องที่เขาไม่รู้ แล้วเพื่อน ๆ ละจะคิดยังไงบ้างนะวันนี้ขอคุยเรื่องของตนเองให้เพื่อน ๆ พี่ฟังดีกว่าเล่าเรื่องที่มีสาระไปเยอะละเล่าเรื่องการทำงานบ้างดีกว่าค่ะ ทิปนี้ดิฉันขอเสนอแนวทางในการดำเนินชีวิตในการทำงานหวังว่าคงจะถูกใจเพื่อน ๆ หลายคนนะค่ะ เพราะมันจะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตในการทำงานต่อไปได้ค่ะ ยิ่งตอนนี้ปัญหาในที่ทำงานก็มีมากโดยเฉพาะคนค่ะ ลองอ่านและนำไปปฏิบัติกันดูนะค่ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ค่ะ

มนุษยสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอะไรในการทำงาน
การที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้นั้น เราควรจะได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติ ความต้องการของคนโดยทั่วไปเสียก่อน ถ้าหากเราต้องการจะทำให้เขาเกิดความพึงพอใจก็ควรจะทำในสิ่งที่บุคคลอื่นต้องการ การที่เราจะทำอะไรหรือให้อะไรแก่คนอื่นในสิ่งที่เขาไม่ต้องการก็จะไม่ช่วยสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นได้ เช่น นำอาหารอร่อย ๆ มาให้กับคนที่กำลังอิ่มอยู่แล้ว เช่นนี้ย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เราควรจะต้องพิจารณาดูเสียก่อนว่าเขามีความต้องการในสิ่งใด ถ้าให้ถูกต้องตามความต้องการของเขา เขาจึงจะเกิดความพึงพอใจกฎเกณฑ์ข้อนี้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญมากในการสร้างให้เกิดมนุษยสัมพันธ์
เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าการสร้างความสัมพันธ์นั้นเป็นการง่ายหรือยาก แต่ทุกคนสามารถ “สร้างความสัมพันธ์” ได้ถ้าปรารถนาจะสร้างเคล็ดลับอยู่ที่ว่าต้องรู้เขารู้เราประเพณี วัฒนธรรม ปรับกายใจของเราโดยไม่ทิฐิฝึกเป็นนิสัย ควรสร้างความสัมพันธ์กับทุกชนชั้น ในลักษณะที่ดีที่เรียกกันว่า “มนุษยสัมพันธ์” โดยเฉพาะมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเกียวข้องกับการบริหารงานบุคคลและพัฒนาองค์กร
มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารงาน มนุษยสัมพันธ์เริ่มต้นที่ตัวบุคคลแต่ละคน ผู้ที่จะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ได้ฝึกหัดปฏิบัติจนชำนาญ คุ้นเคย เป็นปกตินิสัยประกอบกับพื้นฐานพัฒนาการของชีวิต และบุคลิกภาพเป็นปัจจัยสนับสนุนส่งเสริม เพียงแต่สัมพันธ์ได้ครั้งหนึ่งแล้ว
มนุษยสัมพันธ์จะเกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจ ชวนติดตามหาคำตอบ ซึ่งก็มีคำตอบให้ทุก ๆ ท่านนำมาเก็บไว้ในจิตใจแล้วว่า ประเด็นแรกต้องมีความเข้าใจตนเอง ประเด็นที่สองต้องมีความเข้าใจในผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้มาติดต่องาน ผู้ที่ทำงานร่วมกันทุกระดับ ประเด็นที่สามต้องมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมทั้งของเราและของเขา ประเด็นที่สี่ต้องมีความเข้าใจวิธีการปรับตัวเราให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ห้า ต้องมีวิธีทำให้ผู้อื่นภูมิใจ มั่นใจในตนเอง คาร์เนกี้ (Carnegie) ได้กล่าวไว้ว่า “ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วท่านจะได้สิ่งที่ท่านต้องการ” กล่าวสั้น ๆ ก็คือว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง
ให้ท่านท่านจักให้ นบท่านท่านจักปอง รักท่านท่านควรครอง สามสิ่งนี้เว้นไว้
ตอบสนองนอบไหว้ความรัก เรามาแต่ผู้ทรชน
นั่นคือ รักเขา เขาก็รักเรา ไหว้เขา เขาก็ไหว้เรา หลักของคาร์เนกี้ (Carnegie) ดังกล่าวข้างต้นเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไปว่า คนเราต้องการอะไร หรือ ดูว่าความต้องการของคนมีอะไรบ้าง เพื่อเราจะให้ได้ถูกต้อง ดร.จอนห์ดิวอี้ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งกระตุ้นเตือนอย่างรุนแรงที่สุดแห่งธรรมชาติของมนุษย์ก็คือความปรารถนาที่จะเป็นคนสำคัญ” การยกย่องบุคคลให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปประกาศให้คนอื่น ๆทั่วไปรู้ก็ได้ แต่ใช้วิธีการแสดงออก เช่น การทักทายต่าง ๆ ด้วยคำพูด น้ำเสียง แสดงว่าเขามีความสำคัญ ต่อมาก็กลายเป็นวัฒนธรรม เช่น “ขอบพระคุณค่า” “ยินดีด้วยนะ” “ขอประทานโทษค่ะ” “ครับผม” “ท่าน” หรือการยิ้มแย้มต้อนรับ ตลอดจนการแสดงคารวะ เช่น โค้งหรือก้มศีรษะ การยกย่องกัน ให้เกียรติกัน ผู้ที่ได้รับการยกย่องจะรู้สึกมีความภูมิใจ และจะให้ความร่วมมือในกิจการงานต่าง ๆ ด้วยดีเสมอ มนุษยสัมพันธ์มีหลักการใหญ่อยู่ที่การครองใจคน การทำให้คนเป็นมิตร ถือว่าเป็นศิลปะที่ลึกซึ้งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม การเข้าถึงจิตใจคนนั้นไม่มีวิถีทางใดที่ทำได้ดีกว่าอาศัยหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา การทำงานถ้าขาดการครองใจคนเสียแล้ว กิจการนั้นก็ขาดความเจริญงอกงาม มนุษยสัมพันธ์จึงอยู่ที่การครองใจ การชนะใจคนเป็นส่วนใหญ่ การเข้าถึงจิตใจคน ทำอะไรถูกใจ และถึงใจคนจะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ปฏิบัติอย่างไม่มีสิ่งใดเทียบเท่า มนุษยสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นกิริยาที่กระทำต่อกันของบุคคลแต่ละบุคคล และทุกคนที่ร่วมกันปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละองค์การ
ดร.แอ็ดเลอร์ กล่าวว่า “บุคคลใดที่ละเว้นการเอาใจใส่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่เพียงแต่เขาจะดำรงชีวิตโดยปราศจากความราบรื่น หากเขายังเป็นมนุษย์ที่มีอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อผู้อื่นด้วย มนุษย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ห่างไกลจากความก้าวหน้าและความรุ่งเรืองในประการทั้งปวง” เราควรให้ความเอาใจใส่กับทุกคนที่เราจะคบ พยายามทักทายพูดคุยกับทุก ๆ คนเท่าที่เราสามารถจะกระทำได้ และไม่ว่าเขาจะเป็นบุคคลที่มีฐานะสูงหรือต่ำกว่าเรา พยายามรู้ข้อมูลในทางที่ดีของเขาและนำมาสรรเสริญ ชมเชยเขาตามโอกาสอันควร การยิ้มแสดงถึงความสุข เป็นการแสดงไมตรีต่อและก่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้พบเห็น จงพยายามฝึกที่จะให้เกิดจากจิตใจที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการยิ้มแต่กายใจไม่ยิ้ม เพราะการยิ้มทำให้คนที่พบเห็นเป็นสุขเขาก็จะให้สิ่งที่เป็นสุขแก่เราบ้าง ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพอย่างมาก ศ.วิลเลียมเจมส ์กล่าวว่า หลักสำคัญที่สุดแห่งธรรมชาติมนุษย์ก็คือ ความกระหายที่จะได้รับการยกย่อง นั่นก็คือ “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ท่านต้องการจะให้ผู้อื่นปฏิบิต่อท่าน จงทำเช่นนี้ ตลอดเวลาและทำทุกแห่งจนติดเป็นนิสัย” การบริหารงานเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน หรือองค์การ ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผู้บริหารควรทราบเกี่ยวกับศิลปะของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ดังนี้ คือ 1) การปรับปรุงตัวเอง การที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ผู้บริหารควรจะปรับปรุงตัวเองให้เป็นที่น่านิยมยกย่องของผู้อื่น จึงจะทำให้ผู้อื่นอยากมาเข้าใกล้หรือติดต่อสัมพันธ์ด้วยการปรับปรุงตนเองนั้นต้องปรับปรุงทุกด้าน เช่น
- การปรับปรุงด้านร่างกาย (Physical Adaptation) รู้จักระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ จะเป็นการเสริมบุคลิกภาพให้น่าสนใจ เกิดความประทับใจทางกายภาพ - การปรับปรุงทางด้านอารมณ์ (Enotional adaptation) ต้องพยายามปรับปรุงตนเองอย่าเป็นคนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็ว ควรจะมีอารมณ์หนักแน่น ผู้บริหารที่มีคุณสมบัต ิเช่นนี้จะทำให้เป็นที่สนใจแก่คนทั่วไป - การปรับปรุงทางด้านสติปัญญา (Indeational Adaptation) ผู้บริหารควรเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล - การปรับปรุงทางด้านอุดมคติ (Indeational Adaptation) การเปลี่ยนแปลงอุดมคติไปตามความจำเป็น เพื่อปรับปรุงให้เข้ากับเรื่องนั้น 2) การรู้จักจิตใจของผู้อื่น การรู้จักจิตใจของผู้อื่นและความต้องการของคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทุกคนชอบให้คล้อยตาม นอกจากนั้นทุกคนยังอยากให้คนอื่นสนใจ ผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจแก่คนทุกคน เพื่อเป็นการให้กำลังใจ 3) การรู้จักคน เหตุที่ต้องรู้จักคนไว้ เพราะบุคคลมีหลายจำพวก แล้วแต่จะแบ่ง เช่น ประเภทก้าวร้าวชอบแสดงออก (Extravert) กับเก็บตัวไม่กล้าแสดงออก (Introvert) บางคนโมโหฉุนเฉียวง่าย บางคนขี้อายชอบเก็บตัว บางคนชอบงานสังคม บางคนขี้อิจฉาริษยา บางคนชอบเรียกร้องความปราน ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามใช้ลักษณะต่าง ๆ ของเขาให้เป็นประโยชน์ เช่น คนชอบงานสังคมก็อาจให้ทำงานทางด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจของคนในการทำงานจะมีหรือไม่กับบทท่าที และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายรู้ใจกันและกัน รู้ความต้องการของกันและกัน และเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถูกต้องแล้ว ความสุขใจ ความสบายใจ และความพอใจซึ่งเป็นบรรยากาศที่ทุกคนปรารถนา ในการทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อมนุษยสัมพันธ์อันดีสำหรับหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติตนดังนี้
1. ปฏิบัติงานตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของหน่วยงานนั้น อย่าทำอะไรตามใจตนเองโดยไม่มีหลักการ แบบงานส่วนตัว 2. ไม่เป็นผู้วางอำนาจ หรือถืออำนาจว่าตนเป็นเจ้านายมีอำนาจในหมู่ ลูกน้องจะทำอะไรก็ได้ มักใช้อำนาจเกิดขอบเขตที่ตนมีอยู่ 3. เป็นผู้ที่สนใจและเอาใจใส่ในการงาน คอยตรวจดูแลงานทุกขณะ สิ่งใดที่บกพร่องควรปรับปรุงแก้ไข ไม่ปล่อยให้งานเป็นไปตามยถากรรม 4. พยายามปรับปรุงงานที่ตนกำลังทำอยู่ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ทันสมัย 5. ไม่แสดงออกในลักษณะเคร่งเครียดหรือเคร่งขรึมจนเกินไป เป็นผู้มีลักษณะสดชื่น มีอารมณ์เย็น หรืออารมณ์ขันในบางโอกาส แสดงออกซึ่งไมตรีจิตและมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน 6. สั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ต้องเป็นคำสั่งที่แน่นอนมีเหตุผลและปฏิบัติได้ไม่กำกวม หรือขัดต่อระเบียบ 7. ติดตามผลงานที่สั่งไปว่าดำเนินการได้ผลอย่างไรมีอะไรเป็นอุปสรรค 8. เป็นผู้รู้จักประนีประนอม ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผ่านเลยไป 9. อย่างเป็นคนเห็นแก่ได้ อย่าให้ถูกวิจารณ์ว่าเห็นแก่ของกำนัลจะเป็นการทำลายมนุษยสัมพันธ์เสียความยุติธรรม ทำลายจิตใจผู้อื่น 10. กล้ารับผิดในทันทีที่มีความเสียหายหรือความบกพร่องเกิดขึ้น 11. การปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ควรโกรธ โมโห ในกรณีนิสัยไม่ดี ควรเรียกมาว่ากล่าว ตักเตือน หรือหาวิธีแก้ไขโดยใช้วิธีสนทนาหรืออบรมเป็นรายบุคคล ถ้าเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นก็ว่ากันไปตามระเบียบวินัย 12. เป็นผู้มีความอดทน หรือขันติธรรมเป็นพิเศษ 13. เป็นผู้สุจริตอย่างจริงใจ 14. เป็นคนไม่เล่นพวก ให้ความรักเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไปในแนวทางความยุติธรรมสายกลาง อย่าสนับสนุนเฉพาะพวกของตน 15. เป็นผู้ที่รู้จักการเสียสละตามสมควรแก่อัตภาพ 16. เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย มิตรภาพที่มีอยู่กับเพื่อนฝูงอย่างไรเมื่อตำแหน่งสูง หรือใหญ่ขึ้นก็ควรรักษาไว้ในสภาพเดิม 17. รักเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตน 18. ต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงการถูกวิจารณ์จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในกรณีเป็นคนหูเบา เป็นคนขวางอำนาจ ไม่ยุติธรรม ไม่รับผิดชอบ อย่างแสดงว่ายากจนหรือมั่งมีเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน ถึงมีความรู้น้อยอย่างให้ลูกน้องดูถูก การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือคนงานพึงควรยึดถือหลักปฏิบัติตน สร้างและรักษามนุษยสัมพันธ์ให้มีอยู่ในองค์การในฐานะผู้บังคับบัญชา หน้าที่หลักใหญ่ ๆ คือการควบคุมสถานการณ์ทำงาน การดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานและการพัฒนาตัวบุคคล หากลูกน้องกับหัวหน้าไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันแล้ว งานก็จะไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้เป็นหัวหน้างาน นอกจากจะเข้าใจในลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจถึงกลไกลในการทำงานของลูกน้องด้วย เพื่อส่งเสริมให้กำลังใจลูกน้องได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถของแต่ละคน

ส่งบทความ7ค่ะ

ก่อนจะถึงทิปสุดท้าย ทิปนี้เป็นทิปที่ 7 แล้วน่าเศร้าเนาะอยากจะแนะนำเรื่องดี ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้รับฟังตลอด เอจะทำไงดีนะถ้าไม่ได้เรียนวิชานี้แล้วจะทำไงดีละอยากจะทำต่อนะอยากมีเรื่องอะไรแล้วอยากจะเล่าให้ฟังจ๊ะอิอิ เอาไหน ๆ ก็ไหน ๆ ละก่อนจะถึงทิปสุดท้าย ทิปนี้ก็จะเสนอเรื่องที่มีสาระมาก ๆ ค่ะเกี่ยวกับธรรมมะน่าสนใจมาก "ชาติหน้ามีจริงหรือ" เชื่อว่าทุกคนจะมีแต่คำถามเรื่องนี้กันทั้งนั้นค่ะไม่เว้นแม้แต่ตัวฉันเองค่ะ งั้นเราลองมาอ่านพร้อม ๆ กันเลยดีกว่านะค่ะ

" จะต้องให้รู้ด้วยตนเอง ธรรมะที่แท้จริงเหมือนรสของแอ๊ปเปิ้ล เรื่องรสของแอ๊ปเปิ้ล เราฟังดูเฉยๆก็ไม่รู้ จะไม่รู้ว่ามันหวานหรือมันเปรี้ยวอย่างไร? นอกจากเราลองชิมแอ๊ปเปิ้ลนั้นแล้ว นั่นแหละ... จึงจะรู้แจ้งว่า รสของมันเป็นอย่างไร? อร่อยไหม? ไม่ต้องไปถามใครอีกแล้ว ปัญหามันจบที่ตรงนั้นเอง "ครั้งหนึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งมาถามปัญหาท่านอาจารย์ชา (หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี) เรื่องชาติหน้าภพหน้า เขาสงสัยว่า คนตายแล้วเกิดหรือไม่?ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ชาติหน้ามีจริงไหม?ท่านอาจารย์ชา : ถ้าบอกจะเชื่อไหมล่ะ?ผู้ถาม : เชื่อท่านอาจารย์ชา : ถ้าเชื่อ......คุณก็โง่ผู้ถาม : คนตายแล้วเกิดไหม?ท่านอาจารย์ชา : จะเชื่อไหมล่ะ? ถ้าเชื่อ......คุณโง่หรือฉลาด?แล้วท่านจึงสอนต่อไปว่าหลายคนมาถามอาตมาเรื่องนี้ อาตมาก็ถามเขาอย่างนี้เหมือนกันว่า ถ้าบอกแล้วคุณจะเชื่อไหม? ถ้าเชื่อคุณก็โง่ เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่มีหลักฐาน-พยานอะไรที่จะหยิบมาให้ดูได้ ที่คุณเชื่อเพราะคุณเชื่อตามเขา คนเขาว่าอย่างไร คุณก็เชื่ออย่างนั้น คุณไม่รู้ชัดด้วยปัญญาของคุณเอง คุณก็โง่อยู่ร่ำไป ที่นี้ถ้าอาตมาตอบว่า คนตายแล้วเกิดหรือว่าชาติหน้ามี อันนี้คุณต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้ามี พาผมไปดูหน่อยได้ไหม? เรื่องมันเป็นอย่างนี้ มันหาที่จบลงไม่ได้ เป็นเหตุให้ทะเลาะทุ่มเถียงกันไปไม่มีที่สิ้นสุดที่นี้ ถ้าคุณถามว่าชาติหน้ามีไหม? อาตมาก็ถามว่า พรุ่งนี้มีไหม? ถ้ามีพาไปดูได้ไหม? อย่างนี้คุณก็พาไปดูไม่ได้ ถึงแม้ว่าพรุ่งนี้จะมีอยู่ แต่ก็พาไปดูไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าวันนี้มี พรุ่งนี้ก็ต้องมี แต่สิ่งนี้เป็นของที่จะหยิบยกเอามาเป็น วัตถุตัวตนให้เห็นไม่ได้ความจริงแล้ว พระพุทธองค์ท่านไม่ให้เราตามไปดูถึงขนาดนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าชาติหน้ามีหรือไม่มี ไม่ต้องไปถามว่า คนตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด อันนั้นมันไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือ เราจะต้องรู้จัก เรื่องราวของตัวเองในปัจจุบัน เราต้องรู้ว่า เรามีทุกข์ไหม? ถ้าทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร? นี้คือสิ่งที่เราจะต้องรู้ และเป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะต้องรู้ด้วย พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราถือเอาปัจจุบันเป็นเหตุของทุกอย่าง เพราะว่าปัจจุบันเป็นเหตุของอนาคต คือถ้าวันนี้ผ่านไป วันพรุ่งนี้มันก็กลายมาเป็นวันนี้ นี่เรียกว่าอนาคตคือพรุ่งนี้ มันจะมีได้ก็เพราะวันนี้เป็นเหตุ ทีนี้อดีตก็เป็นไปจากปัจจุบัน หมายความว่า ถ้าวันนี้ผ่านไป มันก็กลายเป็นเมื่อวาน นี้เสียแล้ว นี่คือเหตุที่มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราพิจารณาเหตุทั้งหลายในปัจจุบัน เท่านี้ก็พอแล้ว ถ้าปัจจุบันเราสร้างเหตุไว้ดี อนาคตมันก็จะดีด้วย อดีตคือวันนี้ที่ผ่านไป มันย่อมดีด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าเราหมดทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้แล้ว อนาคตคือชาติหน้าก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึงคนหนึ่งพูดว่า : กลัวว่าชาติหน้าจะไม่ได้เกิดท่านอาจารย์ชา : นั่นแหละยิ่งดี กลัวมันจะเกิดเสียด้วยซ้ำไปในครั้งพุทธกาล สมัยที่พระพุทธเจ้ายังคงมีชีวิตอยู่ มีพราหม์คนหนึ่งมีความสงสัยว่า คนตายแล้วไปไหน? คนตายแล้วเกิดหรือไม่? ถ้าพระองค์ตอบได้ก็จะมาบวชด้วย แต่ถ้าตอบไม่ได้หรือไม่ตอบ แกก็จะไม่บวช แกว่าของแกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า มันเป็นเรื่องอะไรของฉันเล่า พราหม์จะบวชหรือไม่บวช นั่นเป็นเรื่องของพราหม์ ไม่ใช่เรื่องของฉัน พระองค์ตรัสว่า ถ้าตราบใดที่พราหม์ยังมีความเห็นว่า มีคนเกิดหรือมีคนตาย คนตายแล้วเกิดหรือคนตายแล้วไม่เกิด ถ้าพราหม์ยังมีความเห็นอยู่อย่างนี้ พราหม์ก็จะเป็นทุกข์ทรมานอยู่อีกหลายกัลป์ ทางที่ถูกนั้น พราหม์จะต้องถอนลูกศรออกเสียบัดนี้ พระพุทธเจ้าท่านว่า ความจริงแล้วไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย พราหม์คนนั้นฟังไม่รู้เรื่อง และจนกว่าแกจะได้เรียนรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เข้าใจถ่องแท้เสียแล้วนั่นแหละ จึงจะเข้าใจคำพูดของพระองค์ได้ นั่นจึงจะเรียกว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นการเชื่อด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ไม่ได้สอนว่า ให้เชื่อว่าคนตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด ชาติหน้ามีหรือไม่มี อย่างนั่นไม่ใช่เรื่องเชื่อหรือไม่เชื่อ จะถือเอาเป็นประมาณไม่ได้ จะถือเอาเป็นหลักเกณฑ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่คุณถามว่า ชาติหน้ามีไหมนั้น อาตมาจึงถามคุณว่า ถ้าบอกแล้วคุณจะเชื่อไหม? ถ้าเชื่อ โง่หรือฉลาด? อย่างนี้เข้าใจไหม? ให้เอาไปคิดดูเป็นการบ้านนะ

ส่งบทความ6ค่ะ

ทิปที่ 6 นี้จะขอนำเสนอเรื่องอาการซึมเศร้าและวิธีแก้ไขอาการซึมเศร้าของคนชรา คนชราส่วนมากจะมีอาการซึมเศร้าเนื่องจากหลาย ๆ สาเหตุส่วนมาก็จะเป็นเกี่ยวกับการน้อยใจที่ลูก ๆ ไม่ค่อยสนใจหรือทำน้อยใจ ยังงั้นเราควรจะเอาใจใส่สนใจคนชราให้มากขึ้นค่ะ ทิปนี้เลยเอามาฝากกันค่ะ ลองอ่านกันนะค่ะ

นักวิศวกรรมชีวเวชบูชิ ค้นพบผู้สูงวัยเกิน 70 ปี ดื่มชาเขียวไม่น้อยกว่า 4 ถ้วย ลดอาการซึมเศร้าลงร้อยละ 44 ขณะที่พบว่าผู้ชายป่วยซึมเศร้าร้อยละ 34 และผู้หญิงร้อยละ 39...นักวิศวกรรมชีวเวชบูชิโดค้นพบส่อว่า ผู้สูงอายุทั้งชายทั้งหญิง หากดื่มชาเขียววันละหลายถ้วย จะไม่ค่อยเกิดมีอาการเศร้าสร้อย ดร.คาอิจุน นิอุ แห่งมหาวิทยาลัยโตโฮกุ กับคณะ ได้พบว่า ผู้สูงอายุวัยเกิน 70 ปีขึ้นไป ที่ได้ดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ถ้วย จะเป็นอาการซึมเศร้าน้อยกว่าถึงร้อยละ 44การศึกษาที่แล้วๆ มา เคยพบว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดระดับความทุกข์ใจลงได้วารสารทางวิชาการ "โภชนาการบำบัด" ของสหรัฐฯเคยรายงานว่า ในผู้ชายจะมีผู้ป่วยอาการซึมเศร้าประมาณร้อยละ 34 ขณะที่ฝ่ายหญิงจะมีมากกว่า เป็นร้อยละ 39 ดร.คาอิจุนได้อ้างในรายงานผลการศึกษาว่า ในชาเขียวมีส่วนประกอบเป็นกรดอะมิโน ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาทอยู่ด้วย จึงปรากฏผลออกมาเช่นนั้น แต่กล่าวว่า ควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก จึงจะยืนยันได้ว่า ชาเขียวมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการซึมเศร้า.
ทิปนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับอาหารไทยต้านมะเร็งเพื่อให้เพื่อน ๆ ที่ชอบรับประทานอาหารแบบไหนได้รู้และสามารถเห็นประโยชน์ของอาหารแต่ละอย่างค่ะ
อาหารไทยนอกมีรสชาติเอร็ดอร่อยจนเลื่องชื่อแล้ว สรรพคุณทางโภชนาการก็ไม่แพ้ใครเลยค่ะ ผลวิจัยล่าสุดจากมหาบัณฑิตสาขาพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า 22 ตำรับอาหารไทยช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งได้
ที่สำคัญเป็นเมนูง่ายๆ ที่ทำกินเองได้ที่บ้าน มีทั้งเมนูผัก เนื้อสัตว์หลากชนิดปลา กุ้ง ไก่ เป็ด หากเห็นรายการอาหารแล้วจะรู้สึกได้เลยว่า การดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรและอาหารก็เป็นยาได้
คุณมลฤดี สุขประสานทรัพย์ ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองเลียนแบบการกินอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง อาทิ อาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ต้มตุ๋นเป็นเวลานาน โดยนำอาหารไทยเหล่านั้นมาทำปฏิกิริยากับไนไตรท์ ในสภาวะคล้ายการย่อยอาหารของคน ได้ผลวิจัยออกมาว่า
อาหารไทยที่ป้องกันมะเร็งได้ดีที่สุด ตามลำดับ ได้แก่ 1. คะน้าน้ำมันหอย 2. ไก่ทอดสมุนไพร 3. ทอดมันปลากราย 4. แกงเลียง 5. ไข่เจียวใส่หอมหัวใหญ่พร้อมมะเขือเทศ 6. กะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาว 7. แกงเผ็ดเป็ดย่าง 8. แกงจืดตำลึง 9. ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 10. ส้มตำไทย 11. ผัดผักรวมน้ำมันหอย
ส่วนอาหารไทยที่ป้องกันมะเร็งได้ดีในระดับกลาง ตามลำดับได้แก่ 12. ฉู่ฉี่ปลาทับทิม 13. น้ำพริกลงเรือ 14. ห่อหมกปลาช่อนใบยอ 15. แกงจืดวุ้นเส้น 16. แกงเขียวหวานไก่17. แกงส้มผักรวม 18. ต้มยำเห็ด
และอาหารไทยที่ป้องกันมะเร็งได้ต่ำ มีอยู่ 4 ชนิดตามลำดับ คือ 19. เต้าเจี้ยวหลน 20. น้ำพริกกุ้งสด 21. ต้มยำกุ้ง 22. ยำวุ้นเส้น
ทิปนี้จะเอาวิธีการทำเมี่ยงผักมาฝากค่ะ เพราะอีกอาทิตย์เดียวก็จะได้หยุดยาวกันแล้วลองทำกันกินที่บ้านนะค่ะ รับรองอร่อยชัวไม่มั่วนิม ทำกินกันเป็นครอบครัวมีความสุขดีนะค่ะ
เมี่ยงผัก
ส่วนผสมเมี่ยง
เห็ดหูหนูขาวและดำอย่างละ 2 ถ้วยกุ้งสับ 1 ถ้วยน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะกระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะผักชี 1/2 ถ้วยรากผักชี 2 รากซีอิ๊วดำ 1 ช้อนชาซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะน้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนชาผักกาดแก้วตามชอบ
ส่วนผสมน้ำจิ้ม
กระเทียม 5 กลีบ รากผักชี 2 ราก พริกขี้หนู 5 เม็ด น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ วิธีทำเมี่ยง
1.เจียวกระเทียมและรากผักชีในน้ำมันมะกอกให้หอม จากนั้นใส่กุ้งสับลงไปผัดจนสุก 2.ใส่เห็ดหูหนูขาวและดำลงไปผัด คลุกเคล้าให้เข้ากันจนสุก 3.ปรุงรสด้วยซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทราย ผัดจนแห้ง จากนั้นให้ปิดไฟแล้วโรยหน้าด้วยผักชี (ที่ปิดไฟก่อนเพราะจะทำให้ผักชีมีสีเขียวสวยน่ากิน) วิธีทำน้ำจิ้มโขลกพริกขี้หนู กระเทียม รากผักชีรวมกันให้ละเอียด ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา และน้ำตาลทราย

ส่งบทความ5ค่ะ

คุยเรื่องมีสาระให้ฟังมากละค่ะเอาเป็นว่าคราวนี้ก็ขอพูดเรื่องกินกันบ้าง สำหรับทิปนี้มีวิธการทำก๋วยเตี๋ยวปลามะระมาให้ลองทำกันดูค่ะลองหัดทำให้คนในบ้านกินกันดูนะค่ะได้ผลยังไงบอกด้วยนะค่ะ จะรอฟังค่ะ
ก๋วยเตี๋ยวปลามะระ
ส่วนผสม
ส่วนผสมน้ำซุป

กระดูกปลา หัวปลา ประมาณ 1/2-1 กิโลกรัม
ผักกาดชนิดเปรี้ยวมีใบ (ซึงฉ่าย) หั่นฝอย 2 ถ้วย
มะระหั่นเป็นชิ้นใหญ่ประมาณ 1/2 ลูกใหญ่
เกลือเล็กน้อย
วิธีทำ
ล้างปลาให้สะอาด จี่ในน้ำมันน้อยให้พอสุก ต้มรวมกับผักกาดดองใส่น้ำให้ท่วม ใส่เกลือ ต้มไฟแรง พอเดือดหรี่ไฟลง คอยช้อนฟองทิ้ง ต้มประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงใส่มะระ ต้มจนสุก ตักขึ้นและกรองน้ำนี้ไว้เป็นน้ำซุป
ก๋วยเตี๋ยว
ส่วนผสม
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1/2 กิโลกรัม
เนื้อปลาเก๋าหรือปลากระพงประมาณ 300 กรัม
ขึ้นฉ่ายซอย 1/2 ถ้วย
กระเทียมเจียว 1/4 ถ้วย
ซีอิ้วขาวสำหรับปรุงรส
พริกไทยป่นไว้โรยหน้า
พริกน้ำส้มตำสำหรับปรุงรส
วิธีทำ
ยีเส้นก๋วยเตี๋ยวให้แยกจากกัน แบ่งเส้นให้พอเหมาะสำหรับแต่ละคน ลวกใส่ชาม คลุกกระเทียมเจียวเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน
ตั้งน้ำซุปที่กรองไว้จนเดือด ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว ลวกเนื้อปลาในน้ำซุปให้สุก ใส่ชามก๋วยเตี๋ยวและใส่มะระที่ต้มสุก ตักน้ำซุปร้อนใส่ชามโรยหน้าด้วยขึ้นฉ่ายและพริกไทยป่น รับประทานร้อนๆ กับพริกน้ำส้ม
Tips
พริกน้ำส้มนี้ควรตำและทิ้งค้างคืนไว้รสจะอร่อยขึ้น
พูดถึงหนังสือหลายเรื่องละ และก็ให้ความรู้หลายอย่างละวันนี้ก็จะพูดอาหารใกล้ตัวเรา ก็จะมีอะไรก็บะหมี่ หรือมาม่าของพวกเราที่ชอบกันกันจังนะ ขนาดตัวเราเรายังชอบเลย เดียวลองอ่านดูนะจ๊ะว่าภัยของบะหมี่หรือมาม่าของเรามีอะไรบ้าง


ใครที่ชอบทานบะหมี่สำเร็จรูปเป็นประจำ ทราบหรือไม่ว่า บะหมี่สำเร็จรูปมีโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีโทษของบะหมี่สำเร็จรูปมาบอกกัน...
ส่วนประกอบของบะหมี่สำเร็จรูปส่วนใหญ่เป็นแป้งสาลีถึง 60-70% ส่วน 15-20% เป็นไขมัน (อยู่ในเครื่องปรุง) ที่เหลืออีก 5-6% เป็นเกลือและผงชูรสล้วน ๆ เพราะฉะนั้นถ้าทานบะหมี่สำเร็จรูปมากกว่า 1 ซองต่อวัน ร่างกายก็จะได้รับปริมาณโซเดียมเกินความต้องการถึง 50-100% ซึ่งเป็นอันตรายต่อไต และยังจะทำให้ความดันโลหิตสูงอีกด้วย
ต่อไปนี้ถ้าอยากจะทานบะหมี่สำเร็จรูปก็ควรจะทำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณะสุข
- ใส่ไข่ ผัก หรือเนื้อสัตว์ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารและป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป
- ควรเลือกซื้อบะหมี่สำเร็จรูปที่เขียนว่า เพิ่มสารไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ ไว้หน้าซอง
- ไม่ควรทานบะหมี่สำเร็จรูปดิบ ๆ เพราะเส้นบะหมี่จะไปพองตัวในกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดได้
- ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรทานบะหมี่สำเร็จรูปมากกว่าวันละ 1 ซอง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดกับไต และโรคความดันโลหิต